Inevitable Cycles
เศรษฐกิจโลกเริ่มเข้าสู่ภาวะชะลอตัวหลังจากมีการฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของ
COVID-19 ที่เริ่มคลี่คลายลงในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะในประเทศเศรษฐกิจหลักที่มีการแจกจ่ายวัคซีนให้กับประชาชนที่ครอบคลุมเกินกว่า 70% แล้ว และหลายประเทศเริ่มเปิดเมือง รวมถึงกลับมาใช้ชีวิตประจำวันโดยอยู่ร่วมกับ COVID-19 ได้ดีขึ้น ทั้งนี้ภาวะสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซียเป็นปัจจัยที่เข้ามากระทบภาวะเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2022 โดยเฉพาะการคว่ำบาตรจากประเทศตะวันตก เมื่อพิจารณาแนวโน้มในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเริ่มเข้าสู่ช่วงชะลอตัว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อจะยังอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยจากภาวะขาดแคลนอุปทานและประเด็นสงครามที่ยังยืดเยื้อ เราจึงมองว่าวัฏจักรของเศรษฐกิจโลกมีการเปลี่ยนผ่านไปอย่างรวดเร็วหลังจากเกิดวิกฤต COVID-19 โดยในปัจจุบันเศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วง “Mid-to-Late Cycle” (กลาง-ปลายวัฏจักร)
เศรษฐกิจโลกเริ่มเข้าสู่ภาวะชะลอตัวหลังจากมีการฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของ
COVID-19 ที่เริ่มคลี่คลายลงในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะในประเทศเศรษฐกิจหลักที่มีการแจกจ่ายวัคซีนให้กับประชาชนที่ครอบคลุมเกินกว่า 70% แล้ว และหลายประเทศเริ่มเปิดเมือง รวมถึงกลับมาใช้ชีวิตประจำวันโดยอยู่ร่วมกับ COVID-19 ได้ดีขึ้น ทั้งนี้ภาวะสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซียเป็นปัจจัยที่เข้ามากระทบภาวะเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2022 โดยเฉพาะการคว่ำบาตรจากประเทศตะวันตก เมื่อพิจารณาแนวโน้มในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเริ่มเข้าสู่ช่วงชะลอตัว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อจะยังอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยจากภาวะขาดแคลนอุปทานและประเด็นสงครามที่ยังยืดเยื้อ เราจึงมองว่าวัฏจักรของเศรษฐกิจโลกมีการเปลี่ยนผ่านไปอย่างรวดเร็วหลังจากเกิดวิกฤต COVID-19 โดยในปัจจุบันเศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วง “Mid-to-Late Cycle” (กลาง-ปลายวัฏจักร)
ด้วยปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ธนาคารกลางหลักของโลก นำโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและลดขนาดงบดุลอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับธนาคารกลางในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ ด้านธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ส่งสัญญาณที่จะทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มต้นในช่วงเดือน ก.ค. ส่วนในฝั่งของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) และธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) มีแนวโน้มที่จะปรับนโยบายเป็นเชิงตึงตัวได้ช้ากว่าธนาคารกลางหลักอื่นเนื่องจากเศรษฐกิจยังฟื้นตัวได้ช้า ในทางกลับกันธนาคารกลางจีน (PBoC) เริ่มดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น และมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและการลงทุนให้กลับมาฟื้นตัวขึ้น นอกจากนี้จากสถานการณ์การระบาด COVID-19 ที่ดีขึ้นทั่วโลก ทำให้แนวโน้มการใช้นโยบายการคลังของแต่ละประเทศมีแนวโน้มลดลง แต่การสนับสนุนด้านพลังงานสะอาดยังเป็นนโยบายหลักที่รัฐบาล
ทั่วโลกใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า
จากภาวะเงินเฟ้อที่สูงและการใช้นโยบายทางการเงินและการคลังที่เข้มงวดขึ้น ทำให้เศรษฐกิจหลายประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการเติบโตในประเทศกลุ่มประเทศพัฒนา เช่น สหรัฐฯ ที่ตัวเลข GDP หดตัวเทียบกับไตรมาสก่อน หรือกลุ่มยูโรโซนที่ GDP เริ่มขยายตัวน้อยลง เป็นต้น อย่างไรก็ตามมีบางประเทศที่ยังอยู่ในช่วงการฟื้นตัวจากการระบาดทำให้ได้รับผลกระทบจากประเด็นดังกล่าวน้อยกว่า เช่น ญี่ปุ่นและไทยที่ยังมีแนวโน้มในการฟื้นตัวตามการเปิดประเทศในครึ่งปีหลัง หรือ
ฝั่งเศรษฐกิจจีนที่ยังอยู่ในช่วงหดตัวลงจากนโยบาย Zero-COVID และการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวดในเมืองสำคัญ แต่มีความหวังในการ
ฟื้นตัวดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการกลับมาเปิดเมือง นอกจากนี้กลุ่มประเทศเอเชียไม่รวมญี่ปุ่นก็ยังฟื้นตัวได้ในระดับสูงแต่ชะลอตัวลงมาเล็กน้อย เป็นต้น ด้วยวัฏจักรเศรษฐกิจที่แตกต่างกันนี้ ส่งผลให้เกิดโอกาสการลงทุนที่แตกต่างกันด้วย
สำหรับโอกาสในการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับครึ่งปีหลังของปี 2022 นี้ เรามองว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มสูงที่ยังอยู่ในสภาพตลาดขาลง ถึงแม้จะมีโอกาสสูงที่จะมีการฟื้นตัวในช่วงสั้นเป็น Bear Market Rally ด้านตลาดหุ้นยุโรปมีระดับ valuation ที่ไม่ได้แพง แต่มีความเสี่ยงจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่หุ้นญี่ปุ่นมีแนวโน้มสดใสมากขึ้นตามการเปิดประเทศ และหุ้นยังมี valuation ที่ค่อนข้างถูก ด้านหุ้นไทยยังมีแรงส่งจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวจากภาคการท่องเที่ยว นอกจากนั้นหุ้นจีนมีแนวโน้มฟื้นตัวตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการกลับมาเปิดเมือง หลังจากราคาหุ้นสะท้อนปัจจัยลบไปมากจนอยู่ในระดับที่ valuation ไม่แพง ส่วนตลาดหุ้นเกิดใหม่ยังมีปัจจัยลบกดดัน แม้ว่า Downside จะเริ่มจำกัดมากขึ้น นอกจากนี้หุ้นเวียดนามมีความน่าสนใจจากการเติบโตในระดับสูง และ valuation ที่ถูก ทั้งนี้กลุ่มหุ้นหรือธีมการลงทุนที่ยังน่าสนใจ ได้แก่ กลุ่ม Value, Cyclical และ Defensive รวมถึงกลุ่ม Re-opening สำหรับตราสารหนี้เริ่มมีความน่าสนใจเพิ่มขึ้นหลังเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี มีการปรับตัวขึ้นไปแตะระดับใกล้เคียง 3% แล้วทำให้เริ่มมีผลตอบแทนที่น่าดึงดูดมากขึ้น ด้านสินทรัพย์ทางเลือกยังเป็นตัวช่วยกระจายความเสี่ยงได้ดี จากกลุ่ม REITs โดยเฉพาะในฝั่งเอเชียที่ยังโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ตามธีมการเปิดประเทศ ขณะที่กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ยังสามารถใช้เป็นตัวกระจายความเสี่ยงในภาวะเงินเฟ้อได้
เราแนะนำจัดพอร์ตการลงทุนแบบเชิงรับ (Defensive) มากขึ้นตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น ผสมกับการเก็งกำไรเพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะสั้น โดยวางกรอบที่เน้นกลุ่มตราสารทุนที่ระดับประมาณ 45% ของพอร์ต และสร้างสมดุลด้วยกลุ่มสินทรัพย์ทางเลือกประมาณ 20% ของพอร์ต ประกอบกับกลุ่มสินทรัพย์เสี่ยงต่ำอีกประมาณ 35% ของพอร์ต ทั้งนี้กรอบการลงทุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงและยืดหยุ่นตามสถานการณ์และลักษณะระดับความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน