Running Hot

เวลาผ่านมาเกือบครึ่งทางของปีนี้กันแล้ว นับตั้งแต่ต้นปีหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์โดยภาพรวมยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นตอบรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยในเดือนที่ผ่านมาราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังคงปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่นจากความคาดหวังเงินเฟ้อ ด้านตลาดหุ้นโดยภาพรวมยังเคลื่อนไหวในกรอบ โดยตลาดหุ้นอินเดียปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างโดดเด่นหลังตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่เริ่มชะลอตัวลง ขณะที่ REITs ไทยและสิงคโปร์ยังถูกกดดันจากความกังวลของการระบาด COVID-19 ระลอกใหม่

INDEGO Monthly Outlook June 2021
Full PDF version

เวลาผ่านมาเกือบครึ่งทางของปีนี้กันแล้ว นับตั้งแต่ต้นปีหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์โดยภาพรวมยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นตอบรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยในเดือนที่ผ่านมาราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังคงปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่นจากความคาดหวังเงินเฟ้อ ด้านตลาดหุ้นโดยภาพรวมยังเคลื่อนไหวในกรอบ โดยตลาดหุ้นอินเดียปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างโดดเด่นหลังตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่เริ่มชะลอตัวลง ขณะที่ REITs ไทยและสิงคโปร์ยังถูกกดดันจากความกังวลของการระบาด COVID-19 ระลอกใหม่

สำหรับประเด็นด้านนโยบายการเงินโลกพบว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีการใช้เครื่องมือ Reverse Repo ในการดูดซับสภาพคล่องทางอ้อมสูงสุดเป็นประวัติการณ์แตะระดับกว่า 4.85 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สะท้อนถึงสภาพคล่องที่เริ่มล้นในตลาด ขณะที่รายงานผลการประชุม Fed ในเดือน เม.ย. ระบุว่าคณะกรรมการโดยส่วนใหญ่ยังคงสนับสนุนให้มีการผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อไป แต่เริ่มมีคณะกรรมการบางท่านที่ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงเริ่มเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาถึงการลดการอัดฉีดสภาพคล่องลงหากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวได้ถึงเป้าหมายไวกว่าคาด โดยเรามองว่า Fed มีแนวโน้มที่จะยอมปล่อยให้เกิดเงินเฟ้อและเศรษฐกิจฟื้นตัวได้เต็มที่
ถึงระดับหนึ่งก่อนที่จะมีการหารือถึงเรื่องการลดการอัดฉีดสภาพคล่องลง สะท้อนผ่านมุมมองของประธานเฟดสาขาย่อยหลายท่าน
ที่ระยะหลังออกมาให้มุมมองในการสนับสนุนการผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อไปถึงแม้จะเริ่มเห็นสัญญาณเงินเฟ้อ ขณะที่ผลสำรวจจากมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์โดย Reuters สะท้อนว่าตลาดมีมุมมองว่า Fed มีโอกาสในการลดการอัดฉีดสภาพคล่องเพิ่มขึ้นในช่วง
ครึ่งปีแรกของ 2022 มากกว่าจะเป็นช่วงครึ่งปีหลังของปี 2021 นี้ โดยน่าจะเริ่มมีการส่งสัญญาณในช่วงเดือน มิ.ย. หรือเดือน ส.ค. นี้

ด้านสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้นหลังจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันในประเทศที่มีจำนวนผู้ติด
เชื้อสะสมสูงที่สุดในโลก 2 ประเทศแรกอย่าง สหรัฐฯ และอินเดีย ชะลอตัวลง เช่นเดียวกับทางฝั่งยุโรปที่เริ่มมีสถานการณ์ที่ดีขึ้น สะท้อนว่าการใช้มาตรการล็อกดาวน์และการเร่งฉีดวัคซีนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี อย่างไรก็ตาม
การแพร่ระบาดของประเทศในทวีปเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ และไทย ยังคงน่ากังวลจากการเร่งตัวขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ จนต้องใช้มาตรการคุมเข้มหรือล็อกดาวน์อีกครั้ง

สำหรับประเด็นสำคัญที่ตลาดให้ความสำคัญเป็นพิเศษในช่วงนี้คือเรื่องของอัตราเงินเฟ้อ โดยตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปสหรัฐฯ (CPI)
ในเดือนเม.ย. ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 4.2% (YoY) โดยเป็นผลมาจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์นำโดยราคาพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้น
แรงเทียบจากปีก่อนที่มีตัวเลขฐานต่ำ เช่นเดียวกับราคาวัสดุก่อนสร้างและราคาบ้านที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างร้อนแรงในสหรัฐฯ โดยสินค้าหลายอย่างมีความต้องการเพิ่มขึ้นจาก Pent-Up Demand ในขณะที่ฝั่งอุปทานมีการสต๊อกสินค้าไว้น้อยจากปีก่อน และยังมีปัญหาในการกลับมาผลิตได้ไม่เต็มที่ รวมถึงมีภาวะขาดแคลนแรงงานในช่วงที่รัฐยังสนับสนุนสวัสดิการการว่างงาน

ทั้งนี้หากพิจารณาตัวเลขเงินเฟ้อผู้บริโภคพื้นฐาน (Core PCE) ที่ Fed ใช้พิจารณาในการตัดสินใจด้านนโยบายการเงินพบว่า
ยังมีแนวโน้มที่จะเร่งตัวขึ้นต่อไปแล้วทำจุดสูงสุดในช่วงประมาณเดือน มิ.ย. ถึง ก.ค. ซึ่งในช่วงนี้หาก Fed ยังเปิดโอกาสให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นไปโดยยังไม่รีบควบคุมก็น่าจะยังเอื้อประโยชน์ต่อสินทรัพย์ที่ฟื้นตัวตามภาวะเงินเฟ้อ เช่น สินค้าโภคภัณฑ์ หุ้นตลาดเกิดใหม่ หุ้นกลุ่ม
วัฏจักร และกลุ่มอสังหาฯ หรือ REITs ต่อไปได้อีกสักระยะก่อนที่เงินเฟ้อจะเริ่มชะลอความร้อนแรงลงเมื่อเศรษฐกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้ในภาวะปกติมากขึ้น

ในส่วนของผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนทั่วโลกในช่วงไตรมาสที่ 1 โดยภาพรวมกลับมาเติบโตได้ดีนำโดย ไต้หวัน จีน และสหรัฐฯ ซึ่งน่าจะยังทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกยังมีความน่าสนใจในการลงทุนในช่วงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดย สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น
มีผลประกอบการที่ดีกว่าคาดมากที่สุดตามลำดับ ขณะที่อินเดียผลประกอบการหดตัวจากการระบาดหนักของ COVID-19

  สำหรับในเดือนนี้เราแนะนำให้ลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นที่อาจได้รับความผันผวนจากประเด็นด้านเงินเฟ้อลงในระยะสั้น เช่น กลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด และหุ้นเติบโตสูงในตลาดเกิดใหม่ และรอสะสมการลงทุนในสินทรัพย์กลุ่มธีม Reopening เช่น REITs เพิ่มเติมตามแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยมุมมองระยะยาวเรายังคงชอบหุ้นโลกขนาดกลางและขนาดเล็ก หุ้นจีน หุ้นอินเดีย หุ้นตลาดเกิดใหม่ และหุ้นพลังงานสะอาดที่จะได้รับประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ รวมถึง REITs ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจ

  • SHARE
Contact
Contact