The Extreme of the Century
เดือน ต.ค. ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้วเริ่มฟื้นตัว นำโดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลังเข้าสู่ช่วงการประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 3 และตลาดสะท้อนความกังวลการขึ้นดอกเบี้ยไปค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ตลาดหุ้นจีนปรับร่วงลงจากความกังวลด้านนโยบายที่อาจเข้มงวดมากขึ้นหลังทราบผลการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีน และหุ้นเวียดนามปรับตัวร่วงลงจากความกังวลด้านมาตรการควบคุมภาคอสังหาฯ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ด้านธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.75% สู่ระดับ 3.75-4.00% และส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยต่อไปเพื่อคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับเป้าหมาย 2% แต่มีโอกาสลดความเร็วในการขึ้นดอกเบี้ยหลังจากนี้ ขณะที่มองว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุด (Terminal rate) มีโอกาสสูงกว่า Dot Plot ในช่วงเดือน ก.ย. โดย Fed ยังมองว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งและอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง ด้านธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% สู่ระดับ 2.00% ในเดือน ต.ค. และ 3.00% ในเดือน พ.ย. ตามลำดับ โดย BoE ได้เข้าซื้อพันธบัตรชั่วคราวเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดการเงิน ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ยังคงนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายต่อไป
เดือน ต.ค. ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้วเริ่มฟื้นตัว นำโดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลังเข้าสู่ช่วงการประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 3 และตลาดสะท้อนความกังวลการขึ้นดอกเบี้ยไปค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ตลาดหุ้นจีนปรับร่วงลงจากความกังวลด้านนโยบายที่อาจเข้มงวดมากขึ้นหลังทราบผลการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีน และหุ้นเวียดนามปรับตัวร่วงลงจากความกังวลด้านมาตรการควบคุมภาคอสังหาฯ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ด้านธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.75% สู่ระดับ 3.75-4.00% และส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยต่อไปเพื่อคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับเป้าหมาย 2% แต่มีโอกาสลดความเร็วในการขึ้นดอกเบี้ยหลังจากนี้ ขณะที่มองว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุด (Terminal rate) มีโอกาสสูงกว่า Dot Plot ในช่วงเดือน ก.ย. โดย Fed ยังมองว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งและอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง ด้านธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% สู่ระดับ 2.00% ในเดือน ต.ค. และ 3.00% ในเดือน พ.ย. ตามลำดับ โดย BoE ได้เข้าซื้อพันธบัตรชั่วคราวเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดการเงิน ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ยังคงนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายต่อไป
ในปี 2022 นี้เป็นปีที่ผลตอบแทนของการลงทุนในหลายสินทรัพย์ให้ผลตอบแทนติดลบกันถ้วนหน้า โดยหากพิจารณาพอร์ตการลงทุนแบบ Asset Allocation หุ้น 60% (S&P500) และตราสารหนี้ 40% (พันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี) จะพบว่าติดลบในระดับ
เกินกว่า 20% และเป็นผลมาจากการติดลบทั้งหุ้นและตราสารหนี้ ซึ่งในรอบ 95 ปี จะมีปีที่ผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนที่ติดลบมาจากทั้ง 2 สินทรัพย์พร้อมกันน้อยมาก โดยเกิดขึ้นเพียงแค่ 4 ครั้งรวมปีนี้ และตามสถิติใน 3 ครั้งที่ผ่านมาหลังจากพอร์ตติดลบทั้ง 2 สินทรัพย์ ในปีถัดมาตราสารหนี้มักจะให้ผลตอบแทนเป็นบวกทุกครั้ง นอกจากนั้น สถิติที่น่าสนใจก็คือปีนี้เป็นปีที่ผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรเลวร้ายที่สุดในรอบกว่า 234 ปี จากการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ และปัญหาเงินเฟ้อ ทำให้เรามองว่าด้วยความเลวร้ายดังกล่าวของตลาดในรอบกว่าศตวรรษจะเป็นการเปิดโอกาสการลงทุนในรอบใหญ่ของหลายสินทรัพย์การลงทุนในปีหน้า โดยเฉพาะการลงทุนในตราสารหนี้ที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวขึ้นอยู่ในระดับที่น่าสนใจแล้ว
ด้านผลการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20 ประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ยังคงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีและเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนต่อเป็นสมัยที่ 3 พร้อมทั้งมีการเลือกทีมผู้นำคณะกรรมการถาวรประจำ Politburo ชุดใหม่ 6 ท่าน ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่สนิทกับสีจิ้นผิง ทำให้หลายฝ่ายประเมินว่าการบริหารประเทศหลังจากนี้จะมีทิศทางของนโยบายที่รวมศูนย์อำนาจมากขึ้น โดยมีการกล่าวถึงนโยบายในการสร้างประเทศแบบสังคมนิยมยุคสมัยใหม่อย่างเต็มรูปแบบ ส่งเสริมความมั่นคงและแนวทางการฟื้นฟูชาติ ประกอบกับนโยบายการต่างประเทศที่ยังแข็งกร้าวกับสหรัฐฯ และไต้หวัน ด้วยปัจจัยดังกล่าวทำให้เรามองว่าต้องระมัดระวังในการลงทุนหุ้นจีนมากยิ่งขึ้น และติดตามนโยบายการบริหารประเทศหลังจากนี้ภายใต้คณะผู้บริหารพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดใหม่
ด้านตลาดหุ้นเวียดนามมีการปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง จากหลายปัจจัยที่กดดัน ทั้งจากการจัดระเบียบการออกหุ้นกู้เพื่อควบคุมฟองสบู่ภาคอสังหาฯ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างรวดเร็วเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ และบรรยากาศตื่นตระหนกของนักลงทุน
โดยปัจจุบันตลาดหุ้นเวียดนามมีระดับ Valuation ที่ใกล้เคียงกับช่วงวิกฤตฟองสบู่อสังหาฯ แตกในช่วงปี 2011 แล้ว ทำให้เรามองว่าเป็นโอกาสในการลงทุนระยะยาว ขณะที่ภาพระยะสั้นตลาดยังมีแนวโน้มผันผวนตามตลาดโลกและอารมณ์ของนักลงทุนรายย่อย
ในฝั่งของผลประกอบการตลาดหุ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 บริษัทใน S&P500 ประกาศผลประกอบการออกมากว่า 66% มีรายได้และกำไรเติบโตประมาณ 11.3% (YoY) และ 3.87% (YoY) นำโดยกลุ่มพลังงาน ขณะที่หุ้นจีนในดัชนี CSI300 ยังมีรายได้เติบโตราว 8.65% (YoY) และมีกำไรสุทธิหดตัวเล็กน้อย 0.80% (YoY) โดยกลุ่มพลังงานและสินค้าจำเป็นเป็นกลุ่มที่ผลประกอบการโดดเด่น ขณะที่หุ้นไทยเริ่มทยอยประกาศผลประกอบการกลุ่มธนาคารที่ออกมาดีกว่าคาดจากสินเชื่อที่เติบโตและการตั้งสำรองที่ลดลง
สำหรับมุมมองของเราในเดือนนี้ เรายังแนะนำให้ระมัดระวังการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงโดยเฉพาะหุ้นโลก ที่ยังอยู่ในแนวโน้มขาลงจากความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอยและนโยบายการเงินที่เข้มงวด และแนะนำทยอยสะสมกองทุนตราสารหนี้โลกหลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวเพิ่มขึ้นท่ามกลางแนวโน้มการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ โดยเรายังมองว่าการกระจายน้ำหนักการลงทุนอย่างเหมาะสมจะช่วยสร้างความสมดุลให้กับพอร์ตมากขึ้นในช่วงที่ตลาดยังคงผันผวน