The Great Rebalance
🔹 ในปี 2024 ที่ผ่านมาเป็นปีที่เศรษฐกิจโลกนำโดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ แข็งแกร่งกว่าที่คาดการณ์ไว้ นำมาซึ่งการปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่โดดเด่น ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังยืดเยื้อซึ่งส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่เช่นกัน ขณะที่ตราสารหนี้กลับได้รับแรงกดดันจากการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวจากแนวโน้มของการขาดดุลทางการคลังและอุปทานพันธบัตรระยะยาวที่สูงขึ้น สำหรับเหตุการณ์สำคัญในปี 2024 ที่เราคาดว่าจะคงส่งผลต่อไปยังปี 2025 เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโลกที่เราได้เห็นการกลับมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยที่ 2 ของโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งยังคงชูนโยบายสนับสนุนธุรกิจในสหรัฐฯ และการกีดกันทางการค้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกมีโอกาสผันผวนเพิ่มขึ้น แต่ก็นำมาซึ่งการลงทุนเพื่อความมั่นคงและการพึ่งพาตัวเองที่มากขึ้น หรือการหาพันธมิตรหรือเปิดตลาดใหม่ในภาวะที่โลกแบ่งขั้ว (Deglobalization) ที่มากขึ้น ประกอบกับแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสำคัญทั่วโลก ยกเว้น ญี่ปุ่น มีแนวโน้มดำเนินต่อไปจากอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มชะลอตัวเข้าสู่เป้าหมายของธนาคารกลางหลายแห่งมากขึ้น ทั้งนี้ความเสี่ยงที่เงินเฟ้ออาจจะปรับตัวลงได้ช้าหรือกลับมาเร่งตัวมากขึ้นได้กลับมาอีกครั้งพร้อมกับนโยบายการกีดกันทางการค้าและการกีดกันผู้อพยพของสหรัฐฯ โดยสถานการณ์และแนวโน้มสำคัญเหล่านี้จะเป็นปัจจัยหลักที่กำหนดทิศทางตลาดการลงทุนโลกในปี 2025
INDEGO Yearly Outlook 2025
“The Great Rebalance”
🔹 ในปี 2024 ที่ผ่านมาเป็นปีที่เศรษฐกิจโลกนำโดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ แข็งแกร่งกว่าที่คาดการณ์ไว้ นำมาซึ่งการปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่โดดเด่น ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังยืดเยื้อซึ่งส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่เช่นกัน ขณะที่ตราสารหนี้กลับได้รับแรงกดดันจากการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวจากแนวโน้มของการขาดดุลทางการคลังและอุปทานพันธบัตรระยะยาวที่สูงขึ้น สำหรับเหตุการณ์สำคัญในปี 2024 ที่เราคาดว่าจะคงส่งผลต่อไปยังปี 2025 เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโลกที่เราได้เห็นการกลับมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยที่ 2 ของโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งยังคงชูนโยบายสนับสนุนธุรกิจในสหรัฐฯ และการกีดกันทางการค้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกมีโอกาสผันผวนเพิ่มขึ้น แต่ก็นำมาซึ่งการลงทุนเพื่อความมั่นคงและการพึ่งพาตัวเองที่มากขึ้น หรือการหาพันธมิตรหรือเปิดตลาดใหม่ในภาวะที่โลกแบ่งขั้ว (Deglobalization) ที่มากขึ้น ประกอบกับแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสำคัญทั่วโลก ยกเว้น ญี่ปุ่น มีแนวโน้มดำเนินต่อไปจากอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มชะลอตัวเข้าสู่เป้าหมายของธนาคารกลางหลายแห่งมากขึ้น ทั้งนี้ความเสี่ยงที่เงินเฟ้ออาจจะปรับตัวลงได้ช้าหรือกลับมาเร่งตัวมากขึ้นได้กลับมาอีกครั้งพร้อมกับนโยบายการกีดกันทางการค้าและการกีดกันผู้อพยพของสหรัฐฯ โดยสถานการณ์และแนวโน้มสำคัญเหล่านี้จะเป็นปัจจัยหลักที่กำหนดทิศทางตลาดการลงทุนโลกในปี 2025
🔹 ด้านเศรษฐกิจโลกในปี 2025 มีแนวโน้มเติบโตในระดับทรงตัว โดยเรายังมองว่าสหรัฐฯ จะยังเป็นประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้วที่ยังมีการเติบโตที่แข็งแกร่ง ขณะที่ยุโรปอาจมีความท้าทายทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้นจากความเสี่ยงของการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ด้านญี่ปุ่นยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่หลุดออกจากภาวะเงินฝืดมายาวนาน และตลาดหุ้นยังมีแรงสนับสนุนจากการปฏิรูปด้านธรรมาภิบาล ส่วนเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อไป แต่อาจเผชิญความท้าทายของนโยบายการกีดกันทางค้าที่มากขึ้น โดยเฉพาะจีนที่ยังเสี่ยงต่อการปรับขึ้นกำแพงภาษีจากสหรัฐฯ ด้วยอัตราที่มากถึงร้อยละ 60 และการชะลอตัวภาคอสังหาฯ ถึงแม้จะมีการออกมาตรการกระตุ้นมาพยุงเศรษฐกิจบ้างแล้วก็ตาม โดยเรามองโอกาสการลงทุนในตลาดเกิดใหม่และตลาดชายขอบที่น่าสนใจ คือ อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ที่ถึงแม้จะยังมีความเสี่ยงต่อนโยบายการปรับขึ้นกำแพงภาษีของสหรัฐฯ แต่ก็อาจจะโดนผลกระทบที่จำกัดจากการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศตามจำนวนประชากรและอานิสงส์จากการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติที่มีการย้ายฐานการผลิตออกจากจีน ด้านเศรษฐกิจไทยยังคงมีความท้าทายจากปัญหาหนี้ครัวเรือนในระดับสูง ผลกระทบจากการกีดกันทางค้า การทะลักของสินค้าจีนราคาถูก ซึ่งจะกดดันเศรษฐกิจภาพรวมของไทย โดยยังคงมีกลุ่มท่องเที่ยวและสุขภาพที่น่าจะยังเติบโตได้ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น รวมถึงกลุ่มธุรกิจที่อยู่ในภาคการลงทุนของห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกับ AI Data Center และ EV
🔹 ด้านโอกาสการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ มีโอกาสที่จะขยายตัวเป็นวงกว้างมากขึ้นจากนโยบายการสนับสนุนเศรษฐกิจสหรัฐฯ ของทรัมป์ ทั้งการปรับลดภาษีและการลดข้อจำกัดในภาคธุรกิจ ประกอบกับการลงทุนของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่และการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ AI และธุรกิจยุคใหม่ ทำให้เรามองว่าโอกาสของหุ้นสหรัฐฯ จะไม่ได้กระจุกอยู่เพียงกลุ่ม Magnificent 7 เป็นหลักเช่นเดิมเหมือนในช่วงปีที่ผ่านมา แต่จะกระจายตัวไปยังธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของการลงทุนด้านเทคโนโลยีเหล่านี้มากขึ้น เช่น AI Cloud Computing Robotic รวมถึงกลุ่ม Infrastructure เช่น โรงไฟฟ้า นอกจากนั้นธุรกิจในกลุ่ม Healthcare เองก็ยังมีความน่าสนใจจากการเติบโตที่โดดเด่นของนวัตกรรมยุคใหม่ เช่น ยาลดน้ำหนักและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ล้ำสมัย รวมไปถึงนโยบายของทรัมป์ที่สนับสนุน Bitcoin และหุ้นกลุ่ม Blockchain
🔹 ด้านตลาดตราสารหนี้ในปี 2025 เรามองว่า Yield Curve มีแนวโน้มที่จะกลับมาชันเป็นปกติมากยิ่งขึ้นจากแนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางส่วนใหญ่ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอาจปรับตัวสูงขึ้นจากอุปทานของพันธบัตรที่เพิ่มขึ้นตามการขาดดุลทางการคลัง ทำให้เรามองว่าโอกาสในการลงทุนของตราสารหนี้จะไปอยู่ในตราสารหนี้ที่มีอายุช่วงระยะกลาง ด้านความเสี่ยงที่สำคัญของการลงทุนในปี 2025 ยังมีหลายความเสี่ยงที่ยังมีความคล้ายความเสี่ยงเดิม เช่น ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ ความเสี่ยงด้านการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ แต่ความเสี่ยงที่เรามองว่ามีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น คือ ความเสี่ยงของการกระจุกตัวในหุ้นขนาดใหญ่ของดัชนี ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม
🔹 สำหรับกลยุทธ์ในการจัดพอร์ตการลงทุนในปี 2025 ตามธีม “The Great Rebalance” เราแนะนำให้ปรับพอร์ตการลงทุนโดยมีฐานหลักของพอร์ตเป็นสินทรัพย์ในสหรัฐฯ ที่เพียงพอและมีการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ของประเทศอื่นประกอบเพิ่มเติม โดยมีการควบคุมสัดส่วนการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ให้เหมาะสมจากความเสี่ยงของนโยบายการกีดกันทางการค้าและภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่การคัดเลือกเชิงรุกในสินทรัพย์ที่มีมูลค่าที่เหมาะสม เรามองว่าในช่วงครึ่งปีแรกมีแนวโน้มที่หุ้นสหรัฐฯ จะแข็งแกร่งและปรับตัวขึ้นขานรับความเชื่อมั่นตามนโยบายของทรัมป์ ซึ่งอาจจะทำให้หุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นได้อย่างร้อนแรงและนำไปสู่ความเสี่ยงด้าน valuation ที่จะเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้เราจึงแนะนำให้มีการลงทุนเชิงรุกที่ลดการกระจุกตัวในหุ้นกลุ่ม Mag7 เป็นหลักและเน้นกลยุทธ์การลงทุนที่คัดเลือกหุ้นหรือธีมการลงทุนเฉพาะเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากตลาด ในขณะที่หุ้นตลาดเกิดใหม่ยังคงมีความน่าสนใจใน อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ที่ยังมีการเติบโตของโครงสร้างประชากรที่น่าสนใจและยังได้แรงสนับสนุนจากเม็ดเงินลงทุนทางตรง ด้านตราสารหนี้ เราแนะนำให้เน้นลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลางหรือกองทุนตราสารหนี้ที่มีนโยบายยืดหยุ่นในการปรับพอร์ตเพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้ม Yield Curve ที่เริ่มกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้น นอกจากนี้การลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกยังมีความน่าสนใจในการช่วยกระจายความเสี่ยงโดยเฉพาะสินทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์กับสินทรัพย์ทั่วไปในระดับต่ำ เช่น Private Asset หรือ Structured Products หรือการลงทุนในกลุ่มที่สร้างกระแสเงินสดที่มีคุณภาพสูง เช่น REITs และ Infrastructure โลก ด้วยพอร์ตการลงทุนที่มีการปรับสัดส่วนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของภาพใหญ่ของตลาดเช่นนี้ เรามองว่าการจัดพอร์ตแบบ Asset Allocation ที่เหมาะสมที่มีทั้งกลุ่ม Growth กลุ่ม Income และ Defensive ที่ผสมกันอย่างเหมาะสม จะทำให้พอร์ตการลงทุนพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในปี 2025 นี้อย่างยั่งยืน
อ่านฉบับเต็มคลิก: https://www.indegowealth.com/wp-content/uploads/2024/12/Market-outlook-2025-LN.pdf
INDEGO
Independence for Global Opportunities
#ยืนหนึ่งเรื่องกองทุนต้อง INDEGO
#รู้ลึกรู้จริง วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
#ให้คำปรึกษาที่เป็นกลางที่สุด
✅ สำหรับผู้สนใจลงทุนผ่านบริการของ INDEGO สามารถติดต่อลงทุนและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
🌐 Website: https://indegowealth.com
📧 อีเมล [email protected]
📞 โทร: 02-233-9995
🗓 ทุกวันทำการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 17:30 น.