The Wind of Change
🔹 เดือน พ.ค. ที่ผ่านมา สินทรัพย์ส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นเนื่องจากผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไตรมาสที่ 1 ออกมาดีกว่าที่คาด อย่างไรก็ตาม กรรมการ Fed หลายสาขาได้แสดงความเห็นว่าควรปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของ Fed เพิ่มเติม ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกปรับขึ้น ส่งผลให้สินทรัพย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้ และ REITs ปรับตัวลดลง
🔹 เดือน พ.ค. ที่ผ่านมา สินทรัพย์ส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นเนื่องจากผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไตรมาสที่ 1 ออกมาดีกว่าที่คาด อย่างไรก็ตาม กรรมการ Fed หลายสาขาได้แสดงความเห็นว่าควรปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของ Fed เพิ่มเติม ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกปรับขึ้น ส่งผลให้สินทรัพย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้ และ REITs ปรับตัวลดลง
🔹 ธนาคารกลางหลักทั่วโลกรวมถึงไทยยังคงเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นำโดย Fed ECB และ กนง. ที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งล่าสุดอีก 0.25% ทั้งนี้เรามองว่าด้วยแรงกดดันด้านเงินเฟ้อของสหรัฐฯ และไทย เริ่มผ่อนคลายลงมากจะทำให้ Fed และ กนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยในอนาคตได้อย่างจำกัด
🔹 ประเด็นร้อนแรงของสหรัฐฯ ในไตรมาส 2 นี้ คงหนีไม่พ้นเรื่อง Debt Ceiling แต่ล่าสุดสถานการณ์เริ่มคลี่คลายหลังสหรัฐฯ ได้ทำข้อตกลงขยาย Debt Ceiling ซึ่งเป็นข้อตกลงที่น่าพอใจสำหรับทุกฝ่ายการเมือง และล่าสุดข้อตกลงดังกล่าวได้ผ่านสภาล่างแล้ว เราจึงมองว่าความเสี่ยงจากประเด็นดังกล่าวได้คลี่คลายลง และแนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุนหุ้นโลกในพอร์ตการลงทุน โดยยังคงเน้นลงทุนในหุ้นคุณภาพสูงเป็นหลัก
🔹 ขณะที่ผลการเลือกตั้งทั่วไปของไทยที่จัดขึ้นช่วงกลางเดือน พ.ค. พรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้งโดยได้ ส.ส. ในสภารวม 151 ที่นั่ง ตามมาด้วยพรรคเพื่อไทย ภูมิใจไทย และพลังประชารัฐ ที่ได้ ส.ส. 141 71 และ 40 ที่นั่ง ตามลำดับ โดยกำลังรอ กกต. ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง และจัดประชุมสภาในระยะถัดไป ซึ่งในด้านการจัดตั้งรัฐบาล เรามองว่าพรรคก้าวไกล เพื่อไทย ประชาชาติ และอีก 5 พรรครวมเป็น 8 พรรค มีความเป็นไปได้สูงที่จะจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ แต่จะทำให้ตลาดหุ้นไทยเกิดความผันผวนในระยะสั้นจากนโยบายของรัฐบาลใหม่ เช่น การปรับขึ้นค่าแรง ป้องกันการผูกขาดและจัดเก็บภาษีเพิ่ม แต่มองเป็นจังหวะในการเข้าสะสมหากราคาปรับตัวลดลงเพื่อรับการฟื้นตัวในระยะกลางจากภาคการท่องเที่ยวและบริโภคที่ฟื้นตัว
🔹 ด้านสินทรัพย์ที่น่าสนใจในเดือนนี้มี 3 สินทรัพย์ คือ 1.หุ้นธนาคารยุโรปเนื่องจากหุ้นกลุ่มดังกล่าวโดนปัจจัยกดดันจากวิกฤตธนาคารทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา แต่เรามองว่าธนาคารยุโรปยังมีความแข็งแกร่งทั้งในแง่ผลประกอบการและสภาพคล่อง 2.หุ้นอินเดียด้วยประเด็นการเติบโตทางเศรษฐกิจระยะยาว สัดส่วนคนชั้นกลางเพิ่มขึ้นทำให้การบริโภคจะเติบโตในระยะยาว อีกทั้งความเสี่ยงด้านการเมืองและภูมิรัฐศาสตร์น้อยกว่าประเทศอื่น และ 3.หุ้นเวียดนามจากประเด็นที่ภาครัฐฯ ออกกฎหมายช่วยบรรเทาวิกฤตหุ้นกู้ และการลดดอกเบี้ยต่อเนื่องของธนาคารกลาง ทำให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวได้
🔹 ด้วยมุมมองของเราในข้างต้นว่า Fed และ กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างจำกัด เราจึงแนะนำลงทุนตราสารหนี้เนื่องจากอัตราผลตอบแทนรัฐบาลปรับตัวขึ้นจนถึงระดับที่น่าสนใจและมีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อได้อย่างจำกัด โดยเน้นลงทุนในตราสารหนี้โลก และตราสารหนี้ไทยระยะกลางเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังแนะนำลงทุนหุ้นกลุ่ม Infrastructure ทั่วโลกจากประเด็นดังกล่าว
🔹 สำหรับมุมมองของเราในเดือนนี้ เรามีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อหุ้นโลก แต่ยังให้ระมัดระวังการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเนื่องจากภาวะตลาดที่ยังเปราะบางและยังมีปัจจัยเสี่ยงทางด้านสภาพคล่อง โดยแนะนำให้สะสมตราสารหนี้คุณภาพสูง โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาล และยังแนะนำรักษาสมดุลและบริหารความเสี่ยงของพอร์ตทั้งขาขึ้นและขาลง แนะนำ Rebalance พอร์ตการลงทุนโดยเฉพาะหุ้นเติบโตทั่วโลก หุ้นจีน หุ้นตลาดเกิดใหม่ และหุ้นเวียดนาม รวมถึง Infrastructure