When Uncle Sam Strikes Back
🔹 เดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ภาพรวมตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลง ท่ามกลางความไม่แน่นอนจากนโยบายภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ภายใต้คำสั่งของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นฮ่องกงปรับตัวเพิ่มขึ้นนำตลาด นำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ได้แรงหนุนจากแนวโน้มการสนับสนุนจากภาครัฐ และความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นของบริษัท AI ของจีน ขณะที่ตราสารหนี้โลกปรับตัวเพิ่มขึ้น ตาม Bond Yield ที่ปรับตัวลดลง หลังจาก Fed คงคาดการณ์ที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 2 ครั้งในปีนี้ ขณะที่ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นนำตลาด ท่ามกลางแรงซื้อของนักลงทุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย
INDEGO Monthly Outlook
April 2025
“When Uncle Sam Strikes Back”
🔹 เดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ภาพรวมตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลง ท่ามกลางความไม่แน่นอนจากนโยบายภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ภายใต้คำสั่งของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นฮ่องกงปรับตัวเพิ่มขึ้นนำตลาด นำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ได้แรงหนุนจากแนวโน้มการสนับสนุนจากภาครัฐ และความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นของบริษัท AI ของจีน ขณะที่ตราสารหนี้โลกปรับตัวเพิ่มขึ้น ตาม Bond Yield ที่ปรับตัวลดลง หลังจาก Fed คงคาดการณ์ที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 2 ครั้งในปีนี้ ขณะที่ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นนำตลาด ท่ามกลางแรงซื้อของนักลงทุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย
🔹 Fed มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 4.25% – 4.50% ตามคาดการณ์ นับเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยติดต่อกัน 2 ครั้งในปีนี้ พร้อมทั้งยังชะลอนโยบาย QT โดยตั้งแต่เดือน เม.ย. เป็นต้นไปจะลดเพดานการไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลจาก 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน เหลือ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่คงเพดานการไถ่ถอนหนี้และ MBS ที่รับรองโดยรัฐที่ 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ Fed ยังคงคาดการณ์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2025 ที่ 2 ครั้ง และได้ปรับลดคาดการณ์ GDP Growth ปี 2025 เป็นขยายตัว 1.7% จากเดิมที่ 2.1% พร้อมปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราว่างงานและ Core PCE
🔹 ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศมาตรการภาษีศุลกากรทุกประเทศทั่วโลกในเดือน มี.ค. ได้แก่ เพิ่มภาษีนำเข้าอีก 10% สำหรับสินค้าทุกชนิดจากจีน ประกาศเก็บภาษีรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ 25% กับทั่วโลก และล่าสุดได้มีการประกาศเพิ่มภาษีขั้นต่ำ (Baseline) ที่ 10% และภาษีตอบโต้ (Reciprocal) ที่คำนวณจากอัตราภาษีที่ประเทศเหล่านั้นกำหนดต่อสินค้าสหรัฐฯ ทั้งนี้ ทางด้านสหภาพยุโรปและจีนได้มีการประกาศมาตรการตอบโต้ ส่งผลให้จีนถูกปรับขึ้นภาษีตอบโต้สู่อัตรา 145%
🔹 จากความไม่แน่นอนของมาตรการด้านภาษีนำเข้าของปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ อาจส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวจนเข้าสู่ภาวะ Recession โดย IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเติบโตได้เพียง 2.7% (YoY) ซึ่งต่ำกว่าการเติบโตในปี 2024 นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อยังปรับตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี สู่ระดับ 3.0% (YoY) ในเดือน ก.พ. อย่างไรก็ตาม ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปัจจุบันยังคงแข็งแกร่งจากภาคธุรกิจและครัวเรือนของสหรัฐฯ ที่ได้มีการลดการก่อหนี้ลงมาอย่างต่อเนื่อง และด้านอัตราว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ
🔹 จีนอาจได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ ที่จำกัด เนื่องจากสัดส่วนตัวเลขการส่งออกสินค้าจากจีนไปยังสหรัฐฯ นั้นลดลงจาก 19% ในปี 2017 เหลือเพียง 14.7% ในปี 2024 สะท้อนให้เห็นถึงการที่จีนพึ่งพาสหรัฐฯ น้อยลง ขณะที่การส่งออกสินค้าจีนไปยังสหรัฐฯ นั้น คิดเป็นเพียง 2.6% ของ GDP เท่านั้น นอกจากนี้ ทางการจีนยังได้ประกาศมาตรการกระตุ้นการบริโภคครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นมาตรการที่ครอบคลุมที่สุดนับตั้งแต่ปี 1970 โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนทั้งฝั่งอุปสงค์และอุปทาน มุ่งหวังให้จีนกลายเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาการบริโภคภายในประเทศ และลดผลกระทบจากสงครามการค้า
🔹 อินเดียเป็นประเทศที่เผชิญกับความตึงเครียดทางการค้าและความผันผวนของตลาดหุ้นที่น้อยกว่าในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากอินเดียเป็นประเทศที่เศรษฐกิจมีการขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศเป็นหลัก โดยอัตราการบริโภคภาคเอกชนที่สูงกว่า 60% ของ GDP ช่วยเสริมความยืดหยุ่นต่อแรงกระแทกจากภายนอก และสนับสนุนแนวโน้มการเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว อีกทั้งอินเดียยังมีอัตราส่วนการส่งออกสินค้าต่อ GDP ต่ำที่สุดในเอเชีย และสินค้าหลักที่อินเดียส่งออกไปยังสหรัฐฯ เช่น ยา นั้นเป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้นการปรับขึ้นภาษีจากสหรัฐฯ นอกจากนี้ อินเดียยังมีโอกาสได้รับประโยชน์จากกลยุทธ์การกระจายฐานผลิตออกจากจีน (China +1) ซึ่งจะช่วยหนุนการลงทุนในประเทศ ขณะที่ล่าสุดทางธนาคารกลางอินเดียยังได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ 6.0% นับเป็นการดำเนินนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลาย
🔹 ตลาดหุ้นยุโรปได้รับ Sentiment เชิงบวกจากการที่รัฐบาลเยอรมนีลงมติอนุมัติแผนงบประมาณขนาดใหญ่ โดยจะมุ่งเน้นไปที่การจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และสภาพอากาศ (Climate Change) มูลค่าประมาณ 5 แสนล้านยูโร และเพิ่มงบประมาณด้านกลาโหม รวมถึงการในงบประมาณพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ โดยไม่มีเพดานหนี้ นอกจากนี้มาตรการด้านภาษีศุลกากรจากสหรัฐฯ ที่บังคับใช้กับยุโรปที่ผ่านมานั้น ยังส่งผลให้ยุโรปเลือกที่จะพึ่งพาตัวเองมากขึ้น โดยเฉพาะงบด้านกลาโหมของหลายประเทศในยุโรปที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยุโรปยังมีปัจจัยกดดันจากสงครามระหว่างรัสเซียยูเครนที่ยืดเยื้อมานานกว่า 3 ปี
🔹 ญี่ปุ่นมีโอกาสเปลี่ยนจากสภาวะเงินฝืดสู่เงินเฟ้อ หลังอัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มสูงกว่าเป้าหมาย โดยมีแรงหนุนจากค่าอาหารที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลให้สหภาพแรงงานญี่ปุ่นสามารถเจรจาขึ้นค่าแรงเฉลี่ยที่ระดับสูงสุดในรอบ 30 ปี โดยการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างครั้งนี้ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมกำลังซื้อของผู้บริโภค แต่ยังถูกคาดหวังว่าจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ นอกจากนี้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังมีปัจัยหนุนจากการปฏิรูปตลาดทุนส่งผลให้มูลค่าการซื้อหุ้นคืนในปี 2024 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
🔹 ในช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นอินโดนีเซียถูกกดดันจากความไม่เชื่อมั่นเกี่ยวกับกองทุนแห่งชาติ Danantara ค่าเงินรูเปียห์ที่อ่อนลง และเป็นไปตามทิศทางของตลาดหุ้นในภูมิภาคจากความกังวลเกี่ยวกับมาตรการด้านภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามเรามองว่า กองทุนแห่งชาติ Danantara จะเป็นปัจจัยหนุนต่อตลาดหุ้นอินโดนีเซีย เนื่องจากกองทุนถูกออกแบบมาเพื่อเร่งการเติบโตของเศรษฐกิจอินโดนีเซีย โดย Danantara จะเข้าบริหารสินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจอินโดนีเซีย และนำผลกำไรไปลงทุนในโครงการเชิงพาณิชย์ที่สำคัญ รวมถึงโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ และเสริมสร้างความสามารถในการทำกำไรของ State-Owned Enterprises (SOE)
🔹 ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา จากแรงกดดันทางเศรษฐกิจและปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สะสมมาอย่างยาวนาน อย่างไรก็ตามล่าสุดตลาดเริ่มมีปัจจัยพยุงมาจากการที่หลายบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่เริ่มทำการซื้อหุ้นคืน การผ่อนคลายนโยบาย LTV และการจัดตั้งกองทุน Thai ESGX ที่อาจช่วยลดแรงขายกองทุน LTF ได้
🔹 สำหรับมุมมองของเราในเดือนนี้ เราแนะนำให้กระจายการลงทุนอย่างเหมาะสมในหลายประเภทสินทรัพย์ และหลากหลายภูมิภาคท่ามกลางความผันผวนจากมาตรการภาษีการค้าจากสหรัฐฯ โดยเน้นสะสมตราสารหนี้โลกและพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รวมถึง Defensive Asset เมื่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี อยู่เหนือระดับ 4% และอัตราผลตอบแทนจากตราสารหนี้ที่ปรับตัวขึ้นมาอยู่ในจุดที่น่าสนใจในรอบทศวรรษ และทยอยสะสมอย่างระมัดระวังในหุ้นสหรัฐฯ จีน จากแนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดหุ้นนำโดยกลุ่มเทคโนโลยีจากกระแสการเติบโตของ AI ในจีน รวมไปถึงสะสมหุ้นญี่ปุ่น อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม อย่างไรก็ตามเราแนะนำให้คงสัดส่วนหุ้นไทยและทยอยลดสัดส่วน เนื่องจากโอกาสการเติบโตที่ยังไม่มาก
อ่านฉบับเต็มคลิก: …
INDEGO
Independence for Global Opportunities
#ยืนหนึ่งเรื่องกองทุนต้อง INDEGO
#รู้ลึกรู้จริง วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
#ให้คำปรึกษาที่เป็นกลางที่สุด
✅ สำหรับผู้สนใจลงทุนผ่านบริการของ INDEGO สามารถติดต่อลงทุนและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
🌐 Website: https://indegowealth.com
📧 อีเมล [email protected]
📞 โทร: 02-233-9995
🗓 ทุกวันทำการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 17:30 น.